Saturday, January 19, 2013

อาชีวัฏฐมกศีล

คำขอสรณะและอาชีวัฏฐมกะศีล

อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลานิ ยาจามิ อะนุคคะหัง กัตตะวา สีลัง เทถะ เม ภันเต
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลานิ ยาจามิ อะนุคคะหัง กัตตะวา สีลัง เทถะ เม ภันเต
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลานิ ยาจามิ อะนุคคะหัง กัตตะวา สีลัง เทถะ เม ภันเต
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ติสะระณะคะมะนัง ปะริปุณณัง) อามะ ภันเต
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ผรุสายะ วาจายะ เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มิจฉาชีวา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลัง กัตตะวา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
สีเลนะ สุคะตึ ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุตึ ยันติ ตัสสะหมา สีลัง วิโสธะเย




อาชีวมัฏฐมกศีล 

และ อาชีวัฏฐมกศีล  
ปกติมักใช้คำว่า อาชีวัฏฐมกศีล



อาชีวัฏฐมกศีล  หมายถึงศีลมีอาชีวะเป็นที่ แปด คือ ประกอบด้วย 
กายสุจริต 3 (งดเว้นฆ่าสัตว์สัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม)      
วจีสุจริต 4 (งดเว้นจากการพูดเท็จ พูดหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ)   
และอาชีวะเป็นที่ 8 คือ งดเว้นจากอาชีพที่ไม่ดี

อาชีวัฏฐมกศีล แปลว่า ศีลมีอาชีวะเป็นอันดับที่ 8 ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเรียกไว้อีกชื่อหนึ่งว่า "อาทิพรหมจริยกะศีล" โดยอธิบายว่าเพราะเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์ซึ่งผู้ปฏิบัติพึงรักษาให้บริสุทธิ์ในเบื้องต้น สมด้วยพุทธดำรัสว่า "ปุพฺเพ ว โข ปนสฺส กายกมฺมํ วจีกมฺมํ อาชีโว สุปริสุทฺโธ โหติ" แปลว่า ด้วยว่า กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ของเขาผู้นั้น บริสุทธิด้วยดี ตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว

อาชีวัฏฐมกศีล เป็นศีลตามแนวอริยมรรคมีองค์ 8 และกุศลกรรมบถ 10

อาชีวัฏฐมกศีล คือศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 คือ
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการพูดคำหยาบ
6. เว้นจากการพูดส่อเสียด
7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
8. เว้นจากอาชีพที่ผิด (อาชีพต้องห้ามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติห้ามเอาไว้ ได้แก่ ห้ามขายสุรา ห้ามขายมนุษย์ ห้ามขายยาพิษ ห้ามขายอาวุธ ห้ามขายสัตว์เพื่อให้เขานำไปฆ่า)

โดยการเปลี่ยนมโนสุจริตในกุศลกรรมบถอันเป็นนามธรรม มาเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงเป็นศีลของผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิหรืออธิฏฐานเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกเพื่อบำเพ็ญบารมีต่อไป ถ้าศีล 5 ผู้ที่ถือบริบูรณ์อย่างน้อยย่อมเกิดมาเป็นมนุษย์อีก ศีลอาชีวัฏฐมกะศีล ผู้ถือบริบูรณ์อย่างน้อยย่อมเกิดมามีเพศเป็นบุรุษ เป็นศีลขั้นต่ำของพระสกทาคามี

ถ้าจะเปรียบเทียบความละเอียดอ่อน ระหว่างอุโบสถศีล อาชีวัฏฐมกศีล  จะเห็นได้ชัดว่า อุโบสถศีล ข้อ 4 มุสาวาทา เวรมณี เว้นพูดเท็จ เว้นข้อเดียวในวจีทุจริต 4 แต่อาชีวัฏฐมกศีล เว้นหมดทั้ง 4 ข้อ เว้นพูดเท็จ เว้นพูดส่อเสียด  เว้นพูดคำหยาบ เว้นพูดเพ้อเจ้อ
      
อุโบสถศีล รักษาได้ชั่ววันกับคืน เดือนหนึ่งมี 4 วัน คือ ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15  ค่ำ แรม 8 ค่ำ แรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ หรือแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่ มีการอาราธนาและประกาศด้วย แต่อาชีวัฏฐมกศีลไม่มีพิธีรีตองและกำหนดวัน จะรักษากี่วันก็ได้ตามใจปรารถนา ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปฏิบัติในมรรคมีองค์ 8 และเช่นเดียวกับการปฏิบัติในกุศลกรรมบถ
      

การจะรักษาศีลประเภทไหนอย่างไร ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจ สติ ศรัทธาและ

เจตนา ศีลห้าเป็นศีลพื้นฐานของอุบาสกอุบาสิกา  ส่วนการจะมีศรัทธา

รักษาศีลที่ละเอียดและยิ่งขึ้นไป ย่อมขึ้นอยู่ที่อัธยาศัย 



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

              
"ดูก่อนมหาบพิตร   ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน    ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้

โดยกาลนาน  ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย   ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้   ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้   ผู้มี

ปัญญาจึงจะรู้ได้  ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.   

ด้วยว่าผู้มีศีล  มีความสำรวม  ย่อมได้มิตรมาก

ส่วนผู้ทุศีล  ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร

นรชนผู้ทุศีล   ย่อมได้รับการติเตียนและความเสียชื่อเสียง

ส่วนผู้มีศีล   ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ

เหตุที่บุญนั้น มีผลมากกว่า จึงให้ผลช้า

ส่วนบาปนั้น มีผลน้อยกว่า เบากว่าจึงให้ผลเร็ว

อุปมา ดังข้าวหนัก ปลูกแล้วให้ผลช้า...แต่ให้ผลมาก 

ส่วนข้าวเบา ให้ผลเร็ว...แต่ให้ผลน้อย.
"

No comments:

Post a Comment