Tuesday, January 22, 2013

พระคาถามหาเมตตาใหญ่

พระคาถามหาเมตตาใหญ่




ลำดับการสวดพระคาถามหาเมตตาใหญ่


ในการสวดคาถามหาเมตตาใหญ่แต่ละครั้งนั้น ผู้สวดพึงกระทำด้วยความตั้งใจจริง ไม่สักแต่ว่าทำ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราทำเพื่อขออภัยขอโทษต่อเจ้ากรรมนายเวรที่เราเคยได้ล่วงเกินเขามา และการที่จะทำให้เขายอมอภัยแก่เรานั้น เราต้องทำด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจจริง ๆ เขาถึงจะเต็มใจให้อภัยและตัดเวรกรรมได้จริง เมื่อจะเร่ิมสวดควรตัดเรื่องกังวลต่าง ๆ ออกไปให้หมด ให้สำรวมกาย วาจา และใจ กราบพระ ๓ ครั้ง ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นเริ่มสวดมนต์ไปตามลำดับ ดังนี้

๑. บทกราบพระรัตนาตรัย
๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
๓. บทไตรสรณคมน์
๔. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
๕. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
๖. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
๗. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
๘. บทคาถามหาเมตตาใหญ่
๙. บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
๑๐. บทขออโหสิกรรมและอธิษฐานบุญ

ขณะสวดมนต์ควรสวดด้วยน้ำเสียงที่ดังพอได้ยิน ชัดถ้อยชัดคำ ควรสวดด้วยจิตใจที่สงบ ไม่ต้องรีบเร่งให้จบโดยเร็ว แรก ๆ อาจจะสวดผิดบ้างถูกบ้าง ก็ไม่เป็นไร ไม่ถือว่าเป็นบาปติดตัว เพราะเราสวดด้วยจิตบริสุทธิ์มิได้มีเจตนาที่จะแกล้งทำเล่นอันเป็นการลบหลู่พระธรรมคำสอน เมื่อได้สวดบ่อย ๆ นานไปก็จะชำนาญเอง ปัญหาเรื่องการสวดผิด ๆ ถูก ๆ ก็จะหมดไป การสวดเบื้องต้นควรสวดคำแปลด้วยเพื่อจะได้เข้าใจในเนื้อหาของบทสวด เมื่อเข้าใจดีแล้วภายหลังจะไม่สวดคำแปลก็ได้


ต้นกำเนิดของคาถามหาเมตตาใหญ่


คาถามหาเมตตาใหญ่นี้ เป็นบทบันทึกเรื่องราวและบทพระธรรมเทศนาที่สำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ หน้า ๓๔๑ ชื่อ "เมตตากถา" มีเนื้อความโดยย่อว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ครั้งนั้นได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายให้ประชุมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนาโปรด พระธรรมเทศนาที่ยกขึ้นแสดงในครั้งนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตากรรมฐาน โดยในเบื้องต้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งการแผ่เมตตาว่า ผู้เจริญเมตตาจะได้รับอานิสงส์มากมายถึง ๑๑ ประการ จากนั้นจึงทรงจำแนกการแผ่เมตตาออกเป็น ๓ ประเภทคือ

๑) การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงผู้รับ
๒) การแผ่ไปโดยเจาะจงผู้รับ และ
๓) การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐
จากนั้นจึงทรงแสดงคำแผ่เมตตาแต่ละประเภทโดยละเอียด และทรงเน้นย้ำให้ภิกษุจดจำนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ความพิเศษของคาถามหาเมตตาใหญ่นี้ก็คือ เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีเหตุให้ต้องแสดง เช่น ไม่มีผู้คุยหรือสนทนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตา ไม่มีผู้ทูลถาม เป็นต้น เพราะโดยส่วนมากแล้วการแสดงธรรมของพระพุทธองค์จะต้องมีเหตุการณ์ให้ต้องแสดง การที่ทรงยกขึ้นแสดงเองเช่นนี้ ย่อมเป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อนึ่ง บทแผ่เมตตานี้ เป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดในบรรดาบทแผ่เมตตาอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า มหาเมตตาใหญ่


บทคาถามหาเมตตาใหญ่

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ

ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ 

คำแปล
ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ ณ โอกาสนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย ฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะได้รับ) อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุตติ ที่ตนส้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มาก แล้วสั่งสม (ด้วยวสี ๕ ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้ว ฯ

(เมตตาเจโตวิมุตติ แปลว่า จิตที่ประกอบด้วยเมตตา พ้นจากความอาฆาตพยาบาทและกิเลสอื่น ๆ)


อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่


อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ๑๑ ประการ คือ
๑. หลับเป็นสุข : คือนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
๒. ตื่นเป็นสุข : คือตื่นมาจิตใจแจ่มใส่ ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึม มึนหัว
๓. ไม่ฝันร้าย : คือฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ : คือมีมนุษยสัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ : เป็นที่รักของสัตว์เดรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
๖. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา : เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ถอยห่าง
๗. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่อาจทำร้ายได้
๘. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
๙. ใบหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่หลงตาย : คือเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
๑๑. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก : ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม ๙ อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมฐานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงฌานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าฌานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที

กะตะเม เอกาทะสะ ฯ สุขัง สุปะติ, 
สุขัง ปะฏิพุชฌะติ,
นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ,
มะนุสสานัง ปิโย โหติ,
อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ,
เทวะตา รักขันติ,
นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ,
ตุวิฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ,
มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ,
อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, 
อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ

คำแปล
อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุตติ คืออะไรบ้าง ?
อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ ๑) นอนหลับเป็นสุข ๒) ตื่นเป็นสุข ๓) ไม่ฝันร้าย ๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา ๗) ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา ๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว ๙) ผิวหน้าผ่องใส ๑๐) ไม่หลงตาย ๑๑) ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลปฏิบัิตดีแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว พึงหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการนั้น ฯ

(พรหมโลก อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นที่ ๖ เป็นชั้นซ้อนๆ กันขึ้นไป แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และอรูปพรหม ๔ ชั้น คำว่า พรหม ท่านแปลว่า เจริญ รุ่งเรือง หมายความว่า เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณวิเศษมีฌาน เป็นต้น)


ประเภทของการแผ่เมตตา

ในหนังสือ คำวัด ซึ่งเขียนโดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ราชบัณฑิต, ป.ธ.๙) ได้ให้ความหมายของการแผ่เมตตา ไว้ว่า "แผ่เมตตา หมายถึง การตั้งจิตปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข การแผ่เมตตาเป็นการเจริญกรรมฐานอย่างหนึ่ง ด้วยการให้อภัยแก่คนอื่น ปล่องวางความโกรธ ความอาฆาติแค้นในบุคคลและในสัตว์ทั้งปวงโดยไม่จำกัด แล้วตั้งจิตปรารถนาให้เขาอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนนอนทุกข์ทั้งกายและใจ"
ตามความหมายเบื้องต้นก็เห็นได้ชัดว่า การเจริญเมตตามีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดกิเลสฝ่ายโทสะ เช่น ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท ความอิจฉา ความคิดปองร้ายให้หมดไปจากใจ ทำให้จิตปลอดโปร่งเบาสบายและเป็นสุข ดังนั้น การแผ่เมตตาแม้จะเป็นการแผ่ความปรารถนาดีแก่ผู้อื่นก็จริง แต่ผู้ที่ได้รับอานิสงส์หรือประโยชน์ที่แท้จริงนั้น ก็คือตัวเรา

การแผ่เมตตา โดยปกติแล้วมี ๒ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. อโนธิสผรณา การแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงผู้รับ คือ แผ่ไปโดยไม่ระบุลักษณะผู้รับว่าเป็นคร อยู่ที่ไหน เพศอะไร หรือมีลักษณะเป็นอย่างไร คือแผ่ไปโดยใช้คำกลาง ๆ ที่ครอบคลุมสัตว์ทุกประเภท เช่น คำว่า สัตตา (สัตว์ทั้งหลาย) ปาณา (สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ภูตา (สัตว์ที่เกิดมีแล้วทั้งหลาย)
๒. โอธิสผรณา การแผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้รับ คือ แผ่ไปโดยระบุประเภท หรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้รับ เช่น ระบุว่าแผ่เมตตาให้มนุษย์ เทวดา เปรต อสุรกาย หรือสัตว์นราก เป็นชายหรือหญิง เป็นต้น

แต่ในเมตตาหลวงได้เพิ่มลักษณะการแผ่เมตตาอย่างที่ ๓ ขึ้นมาอีก คือ การแผ่เมตตาให้กับสัตว์ที่อยู่ในทิศต่าง ๆ อีก ๑๐ ทิศ ซึ่งรายละเอียดของการแผ่เมตตาแต่ละอย่าง จะกล่าวต่อไป


อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
กะติหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะติหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะติหากาเรหิ ทิสาผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคล มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มีอยู่ ฯ

เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง ?

เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคล มี ๕ อย่าง ฯ
เมตตาเจโตวิมมุติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มี ๗ อย่าง ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มี ๑๐ อย่าง ฯ


การแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงผู้รับ


อโนธิสผรณา การแผ่เมตตาไปโดยไม่เจาะจง พระพุทธเจ้าระบุไว้มี ๕ ประการ คือ แผ่ให้แก่
๑. สัตตา สัตว์ทั้งหลาย คำว่า สัตว์ แปลว่า ผู้ข้องอยู่ หมายถึง ข้องอยู่ในอำนาจของกิเลศทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
๒. ปาณา สัตว์ที่มีลมปราณ (ลมที่หล่อเลี้ยงให้มีชีวิต) โดยใจความ หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตนั่นเอง
๓. ภูตา สัตว์ผู้เกิดมีแล้วเป็นแล้ว คือเกิดมีชีวิตเป็นรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เช่น เกิดมีชีวิตเป็นมนูาย์ เป็นสัตว์ เป็นเทพ เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง ภูตยังแปลว่า ผู้มีอยู่เป็นอยู่ตามกรรมที่ตนสร้างไว้ คือยังมีกิเลสเป็นเหตุให้สร้างกรรมและต้องรับผลของกรรม
๔. ปุคคะลา บุคคลทั้งหลาย  บุคคล แปลตามบาลีว่า ผู้กินอาหารเลี้ยงชีพ หรือผู้มีชีวิตด้วยการกินอาหาร อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้เคลื่นไปสู่การจุติ (ตาย) และอุบัติ (เกิด) ได้แก่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
๕. อัตตะภาวะปะริยาปันนา มาจากคำว่า อตฺตภาว (อัตภาพ, ภาวะแห่งการมีตัวตน) + ปริยาปนฺนา (นับเนื่อง, เกี่ยวเนื่อง) แปลรวมกันได้ว่า ผู้นับเนื่อง หรือเกี่ยวเนื่องกับการมีตัวตน หรือมีความเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ คือ มีรูปร่างและจิตวิญญาณ แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า สิ่งที่มีชีวิตมีตัวตน


          กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงมี ๕ อย่างเป็นไฉน ฯ  ๕ อย่างนั้นคือ
๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๒) ขอปาณชาติทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๕) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงมี ๕ อย่าง ดังนี้ ฯ


การแผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้รับ

โอธิสผรณา การแผ่เมตตาไปโดยเจาะจง พระพุทธเจ้าระบุไว้มี ๗ ประการ คือ แผ่ให้แก่
๑. อิตถิโย หญิงทั้งหลาย หมายถึงสัตว์ทุกตัวตนที่มีเพศเป็นหญิง
๒. ปุริสา ชายทั้งหลาย หมายถึงสัตว์ทุกตัวตนที่มีเพศเป็นชาย
๓. อะริยา พระอริยบุคคล ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
๔. อะนะริยา ผู้ไม่ใช่พระอริยบุคคล หมายถึง บุคคลที่ยังเป็นปุถุชน คือ มีกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง อยู่ในสันดาน
๕. เทวา เทวดาทั้งหลาย หมายถึง ผู้ที่เกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น และพรหมโลก ๒๐ ชั้น
๖. มะนุสสา มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ คือรู้จักแยกแยะดี-ชั่วออกจากกัน
๗. วินิปาติกา สัตว์วินิบาตทั้งหลาย แปลตามศัพท์ว่า สัตว์ผู้เกิดในภพที่ต้องโทษ หรือเกิดในอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน

กะตะเมหิ สัตติหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพพา อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ
อิเมหิ สัตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยเจาะจง ๗ อย่างเป็นไฉน ?  ๗ อย่างนั้น คือ
๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๓) ขอผู้เป็นพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๔) ขอผู้ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๗) ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยเจาะจง ๗ อย่าง ดังนี้ ฯ



การแผ่เมตตาไปใน ๑๐ ทิศ

การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือการแผ่เมตตาให้กับสัตว์ ๑๒ ประเภท ที่อยู่ในแต่ละทิศ ๑๐ ทิศ ไปตามลำดับดังนี้

๑. แผ่ให้สัตว์ในทิศทั้ง ๑๐


กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะสัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ? เป็นฉะนี้ คือ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ


๒. แผ่ให้ปาณชาติ ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

คำแปล
ขอปาณชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**ปาณชาติ อ่านว่า ปาน-นะ-ชาด หรือ ปา-นะ-ชาด แปลว่า ผู้ที่เกิดมามีชีวิต หรือมีลมหายใจ มาจากคำว่า ปาณ (ลมปราณ, ลมหายใจ, ชีวิต) + ชาติ (เกิด)


  ๓. แผ่ให้ภูต ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันต ุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**คำว่า ภูต แปลว่า ผู้เกิดเสร็จแล้ว คือเกิดมีชีวิตแล้ว ซึ่งหมายเอาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนับตั้งแต่มีปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์ ต่างจากคำว่า ภูต ในภาษาไทยที่หมายถึงเฉพาะ ผี จำพวกหนึ่งเท่านั้น

๔. แผ่ให้บุคคลในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๕. แผ่ให้ผู้มีอัตภาพ ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**อัตภาพ อ่านว่า อัด-ตะ-พาบ แปลว่า ความมีตัวตน, ผู้มีอัตภาพ จึงหมายถึง ผู้มีตัวตน

๖. แผ่ให้เพศหญิงในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้มีเพศเป็นหญิงทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๗. แผ่ให้เพศชายในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้มีเพศเป็นชายทั้งหลายทั้วปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๘. แผ่ให้ผู้เป็นพระอริยะในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**พระอริยะ หมายพึง ผู้ประเสริฐ ผู้สามารถละกิเลสได้เด็ดขาด แบ่งเป็น ๔ จำพววก ตามความมากน้อยของกิเลสที่ละได้ คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ทั้งที่เป็นบรรพชิต (ผู้ออกบวช) และคฤหัสต์ (ผู้ไม่ได้บวช)

๙. แผ่ให้ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๑๐. แผ่ให้เทวดาในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๑๑. แผ่ให้มนุษย์ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ 
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
(การแผ่เมตตาให้กับมนุษย์ในทิศทั้ง ๘ มีทิศเหนือทิศใต้เป็นต้นนั้นพอเข้าใจ แต่การแผ่ให้กับมนุษย์ที่อยู่ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องล่างนั้น ที่จริงทิศเบื้องบนท่านหมายถึงบุคคลที่มีฐานะมีบุญคุณมีธรรมเหนือกว่าเรา เช่น พระ พ่อแม่ เป็นต้น ทิศเบื้องล่างก็มีนัยตรงกันข้ามกับทิศเบื้องบน คือ ผู้ที่มีฐานะตํ่ากว่าเรานั่นเอง)

๑๒. แผ่ให้สัตว์วินิบาตในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ

คำแปล
ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ ดังนี้ ฯ


สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ,
อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ, 
สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ,
ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ, 
วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ,
สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน,
สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน, 
สุขิตัตตา โหนตุมา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ฯ
ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต ฯ สัพพะพะยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ ฯ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑. ด้วยการเว้นความยํ่ายี ไม่ยํ่ายีสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้วปวง ๑, ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑, จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑, จงมีตนเป็สุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑, เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เมตตา ฯ
จิตคิดถึงธรรมนั้น จึ้งชื่อว่า เจโต ฯ จิตหลุดพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้วปวง เพราะเหตุนั้น จึ้งชื่อว่า วิมุตติ ฯ จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

การอุทิศส่วนบุญแก่เจ้ากรรมนายเวร และ บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

การอุทิศส่วนบุญแก่เจ้ากรรมนายเวร

การอุทิศส่วนบุญ คือการแบ่งปันความสุข อันเกิดจากการได้ทำความดี เช่น ถวายทาน ทำบุญตักบาตร ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ ให้แก่บุคคลที่ตนต้องการจะให้ โดยให้แบบเจาะจงผู้รับ เช่น อุทิศใก้แก่มารดาบิดา ญาติสนิทมิตรสหาย โดยการออกนาม และไม่เจาะจงผู้รับ คือแผ่ไปให้โดยรวมไม่ระบุชื่อเสียงเรียงนาม เช่น อุทิศให้แก่สรรพสัตว์ทั่วทั้งจักรวาล เป็นต้น
การอุทิศส่วนกุศลนี้จะได้ผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
๑. ผู้อุทิศทำบุญให้เกิดมีในตนแล้ว ตั้งใจอุทิศส่วนบุญแก่เขา
๒. ผู้ที่รับต้องอนุโมทนารับเอา หากไม่อนุโมทนารับเอาก็ไม่ได้รับ



พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ได้แนะนำการอุทิศอย่างได้ผลไว้ว่า

"ก่อนที่จะอุทิศบุญนั้นให้ตั้งสติ หายใจลึก ๆ ยาว ๆ และอธิษฐานจิตไว้ก่อน อธิษฐานจิตนั้นหมายความว่า ให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ลิ้นปี่ เมื่อสำรวมกาย วาจา ใจ ได้ตั้งมั่นแล้ว จึงแผ่เมตตาไว้ในใจสักครู่หนึ่ง มีเมตตาดีแล้ว ก็อุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดามารดา ปู่ย่าตายายของเราเป็นต้น ว่าเราได้บำเพ็ญอุทิศกุศลให้แล้ว ได้กุศลแล้ว ขออโหสิกรรม จะรู้สึกปลื้มปีติตื้นตันขึ้นมา ถ้าหากท่านมีสมาธินํ้าตาของท่านจะร่วงเลยนะ ขนพองสยองเกล้าเป็นปีติเบื้องต้น
การแผ่เมตตานั้นต้องมีสมาธิก่อน มีพลังส่ง มีเมตตาในตัวเองก่อน แล้วค่อยแผ่อุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่น จะได้ผล"


บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

               อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชแห่งกุศลผลบุญที่เกิดจากการไหว้พระ สวดมนต์พระคาถามหาเมตตาสูตร ทำสมาธิภาวนาในวันนี้ ตลอดทั้งบุญกุศลใด ๆ ทั้งหมดที่ข้าพระพุทธเจ้าได้สร้างสมมาในอดีตชาติ ชาตินี้ และปัจจุบันวันนี้ ไม่ว่าจะเกิดประโยชน์ ความสุข ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ข้าพระพุทธเจ้าเองเท่าใด
          ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทุกองค์ พระอริยบุคคลทั้งหมด ขอได้โปรดคํ้าชู และอุดหนุนคุณมารดาบิดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่านที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ ที่มีความผูกพันต่อชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าทั้งในอดีตชาติและชาตินี้ ตลอดทั้งขอได้โปรดคุ้มครองให้ทุกคนในครอบครัว มิตรรักสนิทกัน ศัตรูหมู่มาร บริวาร และทหาร ตำรวจชายแดนที่ดูแลประเทศชาติ คณะรัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้ที่กระทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ที่เสียสละชีวิตให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าได้กิน เพื่อการดำรงชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ท่านทั้งหลายทั้งหมดหลุดพ้นจากความทุกข์ ประสบแต่ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปตลอดไป
          ขออุทิศส่วนกุศลไปถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งหมด ไม่ว่าเกิดแล้วก็ดี ยังเป็นวิญญาณล่องลอยก็ดี ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะทางตรง ทางอ้อมทุกภพชาติและชาตินี้ก็ดี ทั้งเจตนาและไม่เจตนา ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งหมดได้โปรดมาอนุโมทนา และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอได้โปรดอโหสิกรรมโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วย
          และกรรมเวรใดที่ท่านทั้งหลายได้เคยกระทำต่อข้าพระพุทธเจ้าทุกภพชาติและชาตินี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็อโหสิกรรมโทษให้แก่ท่านทั้งหลายด้วยเช่นกัน สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนจองกรรมจองเวรแก่กันและกันเลย จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นตลอดไปด้วยเทอญ
          และขอแผ่ส่วนกุศลแด่ทวยเทพทุกพระองค์ใน ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน และทุก ๆ พระองค์ที่ดูแลพระศาสนาทุกหนทุกแห่งและที่ดูแลรักษาชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ก็ดีทั้งสากลพิภพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์ พระอินทร์ พระพรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา แม่พระพาย แม่พระเพลิง แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิรยบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔  สิริพุทธอำมาตย์ชั้นจาตุมหาราชิกาเบื้องบนสุดจนถึงภวัคคพรหม พระภูมิเจ้าที่ ทั้งที่เป็นผีบ้านผีเรือน ทั้งที่บ้านและที่ทำงานของข้าพระพุทธเจ้า และอเวจีขึ้นมาจนถึงโลกมนุษย์สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล
          และขอแผ่ส่วนกุศลแด่องค์พระสยามเทวาธิราชทุก ๆ พระองค์ท่าน ตลอดทั้งพระมหากษัตริย์ไทย วีรกษัตริย์ไทย ขอถวายพระราชกุศลแด่ทุกพระองค์ จงมากล้นด้วยบุญญาธิการ มากล้นด้วยฤทธิ์เดชและพระบารมียิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยเทอญ.

บทขออโหสิกรรม และอธิษฐานบุญ

บทขออโหสิกรรม และอธิษฐานบุญ

การขออโหสิกรรมนี้ คือ การยอมรับสารภาพผิด ขอขมา ขอโทษในสิ่งที่ตนเคยล่วงเกินผู้อื่นเอาไว้ เพื่อให้เขาอภัยให้แก่ตน และหากมีผู้ใดเคยล่วงเกินเราไว้ เราก็ขอให้อภัยแก่ผู้นั้นเช่นกัน เพื่อจะได้ไม่มีเวรมีกรรมต่อไปในชาตินี้และชาติต่อไป


"ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าเคยได้ล่วงเกินแล้ว ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี เจตนาก็ดี มิได้เจตนาก็ดี ในชาติก่อนก็ดี ในชาตินี้ก็ดี ทั้งที่เป็นมนุษย์ก็ดี เทพเทวดาก็ดี พระพรหมก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี สัตว์นรกก็ดี เปรตก็ดี อสุรกายก็ดี พระภูมิเจ้าที่ ภูตผีปีศาจ ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายก็ดี ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ เสวยสุขอยู่ก็ดี เสวยทุกข์อยู่ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า เพิ่มพูนทานบารมีแก่ตน อย่าได้มีเวรต่อกันอีกเลย
และกรรมใด ๆ ที่ใคร ๆ ได้ล่วงเกินแล้วแก่ข้าพเจ้า ทั้งทางกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ทั้งที่ได้ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะในชาตินี้หรือชาติไหน ๆ ก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ท่านเหล่านั้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรมีกรรมต่อกัน
ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดวงศาคณาญาติ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และผู้มีอุปการคุณทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีแต่ความสุข ความเจริญ ปฏิบัติสิ่งใดที่เป็นไปในทางที่ชอบประกอบด้วยธรรม ขอจงสำเร็จผลดังปรารถนาต้องการ เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในเร็ววันด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ"

บทขันธปริตร

บทขันธปริตร




(ตั้งนะโม ๓ จบ)

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง              เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง         เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง          เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง          เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ            มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ           มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
***อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะ
วันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปฎิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม
ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ


คำแปล

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตต่องูตระกูลวิรูปักษ์ทั้งหลาย มีเมตตาจิตต่องูตระกูลเอราบถทั้งหลาย บรรดางูตระกูลฉัพยาบุตร ตลอดทั้งงูตระกูลกัณหาโคตมทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็แผ่เมตตาจิตไปถึงด้วย  
     ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตต่อสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย บรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายก็แผ่เมตตาจิตไปถึงด้วย ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตต่อสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย บรรดาสัตว์มีเท้าหลายเท้าทั้งหลายก็แผ่เมตตาจิตไปถึงด้วย  
     ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง และขอสัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งสิ้น จงประสบแต่ความเจริญงอกงามไพบูลย์ทุกถ้วนหน้า จงอย่าได้ประสบสิ่งเลวร้ายใดๆ เลย  
     พระพุทธเจ้าทรงพระคุณสุดที่จะประมาณได้ พระธรรมมีพระคุณสุดที่จะประมาณได้ พระสงฆ์ก็มีพระคุณสุดที่จะประมาณได้  
     แต่สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เช่น งู แมงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู ก็ยังมีประมาณกำหนดได้  
     ข้าพเจ้าได้ทำการป้องกันรักษาแล้ว ได้ทำการคุ้มครองป้องกันแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสียเถิด ข้าพเจ้ากำลังทำความนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังทำความนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ฯ
(พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ฯ คือ 
๑. พระวิปัสสีพุทธเจ้า 
๒. พระลิขีพุทธเจ้า 
๓. พระเวสสภูพุทธเจ้า 
๔. พระกกุสันธพุทธเจ้า 
๕. พระโกนาคมนพุทธเจ้า 
๖.พระกัสสปพุทธเจ้า 
๗.พระโคตมพุทธเจ้า)


(#เครดิตภาพ อ.เฉลิมชัย โฆสิตพิพัฒน์ ขออนุญาตินำภาพของอาจารย์มาใช้ประกอบกับคาถาบทนี้ค่ะ)

พระคาถาสุริยะประภา จันทรประภา (คาถาขอเงินจากพระจันทร์)

พระคาถาสุริยะประภา จันทรประภา (คาถาขอเงินจากพระจันทร์)
สำหรับไหว้พระขอพร ในวันอมาวสี และวันปุรณมี



          เอกะจักขุ นาฬิเกลา สุริยะประภา ราหูคาหา สัตตะ ระตะนะ สัมปันโน มณีโชติ ระโสยะถา สุวัณณะ รัชชะตะ สะมิทธา อะหังวันทามิ เมสะทาฯ
      เอกะจักขุ นาฬิเกลา จันทรประภา ราหูคาหา สัตตะ ระตะนะ สัมปันโน มณีโชติ ระโสยะถา สุวัณณะ รัชชะตะ สะมิทธา อะหังวันทามิ เมสะทาฯ

(จากนั้นอธิษฐานว่า...)

                 “ข้าพเจ้า  (ชื่อ/นามสกุล ของท่าน) ขออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าได้สร้างมาแต่อดีตชาติ ถึงปัจจุบัน ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลทั้งหลายให้เทพเทวา นาคาทุกหมู่เหล่า ตลอดถึงเทพพระอาทิตย์ เทพพระจันทร์ จงได้รับอานิสงส์แห่งผลบุญนี้ ที่ข้าพเจ้าได้สร้างในวันนี้โดยเร็วพลัน  เมื่อได้รับผลบุญนี้แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายประทานพรอันประเสริฐให้ข้าพเจ้ามีโชคลาภ มีเงินตราตามที่ปรารถนา จากสิ่งที่ทำด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขอให้ได้รับความสำเร็จในเรื่องของการงาน ความสำเร็จในเรื่องความรัก ความสำเร็จในเรื่องของชีวิต ขอให้ .......................(คุณขออะไรก็ให้อธิษฐานไป)

                ขอให้พระอาทิตย์ และพระจันทร์นำพาโชคลาภและความสำเร็จ จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ด้วยอานิสงส์แห่งบุญที่ได้สร้างสมมาแต่ในอดีต ปัจจุบัน เป็นพลวัตรปัจจัยทำให้มีความสุข สมหวังทุกประการ นับตั้งแต่วินาทีนี้ ตราบไปเมื่อหน้าเทอญ

-----------------------------------------------------------------------------------------

                เวลาคุณอธิษฐาน คุณจะขออะไร คุณก็อธิษฐานไป ให้อยู่ในกรอบของเหตุผล ศีลธรรมอันดีงาม บุญวาสนาเก่าที่คุณสร้าง จะมีส่วนเกื้อกูลให้เชื่อมต่อกับบุญปัจจุบัน บุญกุศลที่สร้างในปัจจุบัน จะมีเหตุให้เชื่อมต่อถึงผลที่ได้รับในปัจจุบันเช่นกัน ที่ต้องอธิษฐานให้สำเร็จสมหหวังตั้งแต่วินาทนี้  ถือเป็นการเร่งบุญ ไม่ให้บุญที่ทำนั้น ไปสะสมในชาติในภพอื่น
               พิธีการขอเงินจากพระจันทร์นั้น ถ้าท่านทำตามลำดับที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ถือว่าสัมฤทธิ์ผลที่สุด ส่วนท่านจะเปลี่ยนจากเงินเป็นล็อตเตอรี่ที่ไปซื้อมา เพื่อให้ถูกรางวัลก็ทำได้ด้วยเช่นเดียวกัน การอธิษฐานขอเงินจากพระจันทร์ การอธิษฐานขอความสำเร็จจากพระจันทร์ ในเรื่องอื่น ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นเดียวกัน สมหวังในเรื่องการงาน การเรียน ความรัก หรือเรื่องอื่น ที่ท่านปรารถนา ขอให้ลองปฏิบัติดู จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับบุญหรือกรรมเก่าที่ได้สร้าง หรือสะสมเอาไว้ ถ้าท่านได้สร้างหรือสะสมเอาไว้มาก ก็มีโอกาสได้รับความสำเร็จมาก ถ้าสร้างไว้น้อย ก็ได้รับความสำเร็จน้อย  ตรงนี้เป็นเรื่องที่แข่งกันไม่ได้ครับ เพราะเป็นเรื่องของวาสนาบารมี
                ขอให้ท่านได้ลองปฏิบัติ ถือว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต ที่สำคัญการขอจะสัมฤทธิ์ผลมากหรือน้อยนั้น จิตใจท่านต้องมีเมตตา ต้องยึดหลักพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา หากท่านยิ่งเผยแพร่ความรู้ในเรื่องนี้ไปให้เพื่อน คนใกล้ตัว ไม่ว่าจะถ่ายเอกสาร เพื่อใช้ในการสร้างความสุข ความสำเร็จให้เกิดขึ้นในชีวิต จะเป็นอานิสงส์หนุนนำทำให้ท่านโชคดี หรือประสบความสำเร็จในการขอเงินจากพระจันทร์มากยิ่งขึ้นเป็นทวีเท่า

(บทความ และคำอธิษฐานโดย .ลักษณ์ เรขานิเทศ)

วันอาสาฬหบูชา

" วันอาสาฬหบูชา "
กั วั ขึ้ ค่ำ ดื

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม


สำ คั
ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ประการคือ

. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ได้แก่

. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

. อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น

. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ประการดังกล่าวข้างต้น
เท
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ

บู
อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา

"อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย 


โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน คือ

. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า

เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)


พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิ แผ่เมตตาค่ะ