Tuesday, January 22, 2013

พระคาถามหาเมตตาใหญ่

พระคาถามหาเมตตาใหญ่




ลำดับการสวดพระคาถามหาเมตตาใหญ่


ในการสวดคาถามหาเมตตาใหญ่แต่ละครั้งนั้น ผู้สวดพึงกระทำด้วยความตั้งใจจริง ไม่สักแต่ว่าทำ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราทำเพื่อขออภัยขอโทษต่อเจ้ากรรมนายเวรที่เราเคยได้ล่วงเกินเขามา และการที่จะทำให้เขายอมอภัยแก่เรานั้น เราต้องทำด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจจริง ๆ เขาถึงจะเต็มใจให้อภัยและตัดเวรกรรมได้จริง เมื่อจะเร่ิมสวดควรตัดเรื่องกังวลต่าง ๆ ออกไปให้หมด ให้สำรวมกาย วาจา และใจ กราบพระ ๓ ครั้ง ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นเริ่มสวดมนต์ไปตามลำดับ ดังนี้

๑. บทกราบพระรัตนาตรัย
๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
๓. บทไตรสรณคมน์
๔. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
๕. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
๖. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
๗. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
๘. บทคาถามหาเมตตาใหญ่
๙. บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
๑๐. บทขออโหสิกรรมและอธิษฐานบุญ

ขณะสวดมนต์ควรสวดด้วยน้ำเสียงที่ดังพอได้ยิน ชัดถ้อยชัดคำ ควรสวดด้วยจิตใจที่สงบ ไม่ต้องรีบเร่งให้จบโดยเร็ว แรก ๆ อาจจะสวดผิดบ้างถูกบ้าง ก็ไม่เป็นไร ไม่ถือว่าเป็นบาปติดตัว เพราะเราสวดด้วยจิตบริสุทธิ์มิได้มีเจตนาที่จะแกล้งทำเล่นอันเป็นการลบหลู่พระธรรมคำสอน เมื่อได้สวดบ่อย ๆ นานไปก็จะชำนาญเอง ปัญหาเรื่องการสวดผิด ๆ ถูก ๆ ก็จะหมดไป การสวดเบื้องต้นควรสวดคำแปลด้วยเพื่อจะได้เข้าใจในเนื้อหาของบทสวด เมื่อเข้าใจดีแล้วภายหลังจะไม่สวดคำแปลก็ได้


ต้นกำเนิดของคาถามหาเมตตาใหญ่


คาถามหาเมตตาใหญ่นี้ เป็นบทบันทึกเรื่องราวและบทพระธรรมเทศนาที่สำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ หน้า ๓๔๑ ชื่อ "เมตตากถา" มีเนื้อความโดยย่อว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ครั้งนั้นได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายให้ประชุมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนาโปรด พระธรรมเทศนาที่ยกขึ้นแสดงในครั้งนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตากรรมฐาน โดยในเบื้องต้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งการแผ่เมตตาว่า ผู้เจริญเมตตาจะได้รับอานิสงส์มากมายถึง ๑๑ ประการ จากนั้นจึงทรงจำแนกการแผ่เมตตาออกเป็น ๓ ประเภทคือ

๑) การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงผู้รับ
๒) การแผ่ไปโดยเจาะจงผู้รับ และ
๓) การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐
จากนั้นจึงทรงแสดงคำแผ่เมตตาแต่ละประเภทโดยละเอียด และทรงเน้นย้ำให้ภิกษุจดจำนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ความพิเศษของคาถามหาเมตตาใหญ่นี้ก็คือ เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีเหตุให้ต้องแสดง เช่น ไม่มีผู้คุยหรือสนทนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตา ไม่มีผู้ทูลถาม เป็นต้น เพราะโดยส่วนมากแล้วการแสดงธรรมของพระพุทธองค์จะต้องมีเหตุการณ์ให้ต้องแสดง การที่ทรงยกขึ้นแสดงเองเช่นนี้ ย่อมเป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อนึ่ง บทแผ่เมตตานี้ เป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดในบรรดาบทแผ่เมตตาอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า มหาเมตตาใหญ่


บทคาถามหาเมตตาใหญ่

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ

ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ 

คำแปล
ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ ณ โอกาสนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย ฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะได้รับ) อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุตติ ที่ตนส้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มาก แล้วสั่งสม (ด้วยวสี ๕ ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้ว ฯ

(เมตตาเจโตวิมุตติ แปลว่า จิตที่ประกอบด้วยเมตตา พ้นจากความอาฆาตพยาบาทและกิเลสอื่น ๆ)


อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่


อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ๑๑ ประการ คือ
๑. หลับเป็นสุข : คือนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
๒. ตื่นเป็นสุข : คือตื่นมาจิตใจแจ่มใส่ ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึม มึนหัว
๓. ไม่ฝันร้าย : คือฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ : คือมีมนุษยสัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ : เป็นที่รักของสัตว์เดรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
๖. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา : เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ถอยห่าง
๗. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่อาจทำร้ายได้
๘. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
๙. ใบหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่หลงตาย : คือเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
๑๑. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก : ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม ๙ อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมฐานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงฌานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าฌานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที

กะตะเม เอกาทะสะ ฯ สุขัง สุปะติ, 
สุขัง ปะฏิพุชฌะติ,
นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ,
มะนุสสานัง ปิโย โหติ,
อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ,
เทวะตา รักขันติ,
นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ,
ตุวิฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ,
มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ,
อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, 
อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ

คำแปล
อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุตติ คืออะไรบ้าง ?
อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ ๑) นอนหลับเป็นสุข ๒) ตื่นเป็นสุข ๓) ไม่ฝันร้าย ๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา ๗) ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา ๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว ๙) ผิวหน้าผ่องใส ๑๐) ไม่หลงตาย ๑๑) ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลปฏิบัิตดีแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว พึงหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการนั้น ฯ

(พรหมโลก อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นที่ ๖ เป็นชั้นซ้อนๆ กันขึ้นไป แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และอรูปพรหม ๔ ชั้น คำว่า พรหม ท่านแปลว่า เจริญ รุ่งเรือง หมายความว่า เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณวิเศษมีฌาน เป็นต้น)


ประเภทของการแผ่เมตตา

ในหนังสือ คำวัด ซึ่งเขียนโดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ราชบัณฑิต, ป.ธ.๙) ได้ให้ความหมายของการแผ่เมตตา ไว้ว่า "แผ่เมตตา หมายถึง การตั้งจิตปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข การแผ่เมตตาเป็นการเจริญกรรมฐานอย่างหนึ่ง ด้วยการให้อภัยแก่คนอื่น ปล่องวางความโกรธ ความอาฆาติแค้นในบุคคลและในสัตว์ทั้งปวงโดยไม่จำกัด แล้วตั้งจิตปรารถนาให้เขาอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนนอนทุกข์ทั้งกายและใจ"
ตามความหมายเบื้องต้นก็เห็นได้ชัดว่า การเจริญเมตตามีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดกิเลสฝ่ายโทสะ เช่น ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท ความอิจฉา ความคิดปองร้ายให้หมดไปจากใจ ทำให้จิตปลอดโปร่งเบาสบายและเป็นสุข ดังนั้น การแผ่เมตตาแม้จะเป็นการแผ่ความปรารถนาดีแก่ผู้อื่นก็จริง แต่ผู้ที่ได้รับอานิสงส์หรือประโยชน์ที่แท้จริงนั้น ก็คือตัวเรา

การแผ่เมตตา โดยปกติแล้วมี ๒ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. อโนธิสผรณา การแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงผู้รับ คือ แผ่ไปโดยไม่ระบุลักษณะผู้รับว่าเป็นคร อยู่ที่ไหน เพศอะไร หรือมีลักษณะเป็นอย่างไร คือแผ่ไปโดยใช้คำกลาง ๆ ที่ครอบคลุมสัตว์ทุกประเภท เช่น คำว่า สัตตา (สัตว์ทั้งหลาย) ปาณา (สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ภูตา (สัตว์ที่เกิดมีแล้วทั้งหลาย)
๒. โอธิสผรณา การแผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้รับ คือ แผ่ไปโดยระบุประเภท หรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้รับ เช่น ระบุว่าแผ่เมตตาให้มนุษย์ เทวดา เปรต อสุรกาย หรือสัตว์นราก เป็นชายหรือหญิง เป็นต้น

แต่ในเมตตาหลวงได้เพิ่มลักษณะการแผ่เมตตาอย่างที่ ๓ ขึ้นมาอีก คือ การแผ่เมตตาให้กับสัตว์ที่อยู่ในทิศต่าง ๆ อีก ๑๐ ทิศ ซึ่งรายละเอียดของการแผ่เมตตาแต่ละอย่าง จะกล่าวต่อไป


อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
กะติหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะติหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะติหากาเรหิ ทิสาผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคล มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มีอยู่ ฯ

เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง ?

เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคล มี ๕ อย่าง ฯ
เมตตาเจโตวิมมุติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มี ๗ อย่าง ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มี ๑๐ อย่าง ฯ


การแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงผู้รับ


อโนธิสผรณา การแผ่เมตตาไปโดยไม่เจาะจง พระพุทธเจ้าระบุไว้มี ๕ ประการ คือ แผ่ให้แก่
๑. สัตตา สัตว์ทั้งหลาย คำว่า สัตว์ แปลว่า ผู้ข้องอยู่ หมายถึง ข้องอยู่ในอำนาจของกิเลศทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
๒. ปาณา สัตว์ที่มีลมปราณ (ลมที่หล่อเลี้ยงให้มีชีวิต) โดยใจความ หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตนั่นเอง
๓. ภูตา สัตว์ผู้เกิดมีแล้วเป็นแล้ว คือเกิดมีชีวิตเป็นรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เช่น เกิดมีชีวิตเป็นมนูาย์ เป็นสัตว์ เป็นเทพ เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง ภูตยังแปลว่า ผู้มีอยู่เป็นอยู่ตามกรรมที่ตนสร้างไว้ คือยังมีกิเลสเป็นเหตุให้สร้างกรรมและต้องรับผลของกรรม
๔. ปุคคะลา บุคคลทั้งหลาย  บุคคล แปลตามบาลีว่า ผู้กินอาหารเลี้ยงชีพ หรือผู้มีชีวิตด้วยการกินอาหาร อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้เคลื่นไปสู่การจุติ (ตาย) และอุบัติ (เกิด) ได้แก่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
๕. อัตตะภาวะปะริยาปันนา มาจากคำว่า อตฺตภาว (อัตภาพ, ภาวะแห่งการมีตัวตน) + ปริยาปนฺนา (นับเนื่อง, เกี่ยวเนื่อง) แปลรวมกันได้ว่า ผู้นับเนื่อง หรือเกี่ยวเนื่องกับการมีตัวตน หรือมีความเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ คือ มีรูปร่างและจิตวิญญาณ แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า สิ่งที่มีชีวิตมีตัวตน


          กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงมี ๕ อย่างเป็นไฉน ฯ  ๕ อย่างนั้นคือ
๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๒) ขอปาณชาติทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๕) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงมี ๕ อย่าง ดังนี้ ฯ


การแผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้รับ

โอธิสผรณา การแผ่เมตตาไปโดยเจาะจง พระพุทธเจ้าระบุไว้มี ๗ ประการ คือ แผ่ให้แก่
๑. อิตถิโย หญิงทั้งหลาย หมายถึงสัตว์ทุกตัวตนที่มีเพศเป็นหญิง
๒. ปุริสา ชายทั้งหลาย หมายถึงสัตว์ทุกตัวตนที่มีเพศเป็นชาย
๓. อะริยา พระอริยบุคคล ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
๔. อะนะริยา ผู้ไม่ใช่พระอริยบุคคล หมายถึง บุคคลที่ยังเป็นปุถุชน คือ มีกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง อยู่ในสันดาน
๕. เทวา เทวดาทั้งหลาย หมายถึง ผู้ที่เกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น และพรหมโลก ๒๐ ชั้น
๖. มะนุสสา มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ คือรู้จักแยกแยะดี-ชั่วออกจากกัน
๗. วินิปาติกา สัตว์วินิบาตทั้งหลาย แปลตามศัพท์ว่า สัตว์ผู้เกิดในภพที่ต้องโทษ หรือเกิดในอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน

กะตะเมหิ สัตติหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพพา อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ
อิเมหิ สัตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยเจาะจง ๗ อย่างเป็นไฉน ?  ๗ อย่างนั้น คือ
๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๓) ขอผู้เป็นพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๔) ขอผู้ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๗) ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยเจาะจง ๗ อย่าง ดังนี้ ฯ



การแผ่เมตตาไปใน ๑๐ ทิศ

การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือการแผ่เมตตาให้กับสัตว์ ๑๒ ประเภท ที่อยู่ในแต่ละทิศ ๑๐ ทิศ ไปตามลำดับดังนี้

๑. แผ่ให้สัตว์ในทิศทั้ง ๑๐


กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะสัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ? เป็นฉะนี้ คือ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ


๒. แผ่ให้ปาณชาติ ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

คำแปล
ขอปาณชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**ปาณชาติ อ่านว่า ปาน-นะ-ชาด หรือ ปา-นะ-ชาด แปลว่า ผู้ที่เกิดมามีชีวิต หรือมีลมหายใจ มาจากคำว่า ปาณ (ลมปราณ, ลมหายใจ, ชีวิต) + ชาติ (เกิด)


  ๓. แผ่ให้ภูต ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันต ุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**คำว่า ภูต แปลว่า ผู้เกิดเสร็จแล้ว คือเกิดมีชีวิตแล้ว ซึ่งหมายเอาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนับตั้งแต่มีปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์ ต่างจากคำว่า ภูต ในภาษาไทยที่หมายถึงเฉพาะ ผี จำพวกหนึ่งเท่านั้น

๔. แผ่ให้บุคคลในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๕. แผ่ให้ผู้มีอัตภาพ ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**อัตภาพ อ่านว่า อัด-ตะ-พาบ แปลว่า ความมีตัวตน, ผู้มีอัตภาพ จึงหมายถึง ผู้มีตัวตน

๖. แผ่ให้เพศหญิงในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้มีเพศเป็นหญิงทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๗. แผ่ให้เพศชายในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้มีเพศเป็นชายทั้งหลายทั้วปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๘. แผ่ให้ผู้เป็นพระอริยะในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

**พระอริยะ หมายพึง ผู้ประเสริฐ ผู้สามารถละกิเลสได้เด็ดขาด แบ่งเป็น ๔ จำพววก ตามความมากน้อยของกิเลสที่ละได้ คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ทั้งที่เป็นบรรพชิต (ผู้ออกบวช) และคฤหัสต์ (ผู้ไม่ได้บวช)

๙. แผ่ให้ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอผู้ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๑๐. แผ่ให้เทวดาในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

๑๑. แผ่ให้มนุษย์ในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ 
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

คำแปล
ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
(การแผ่เมตตาให้กับมนุษย์ในทิศทั้ง ๘ มีทิศเหนือทิศใต้เป็นต้นนั้นพอเข้าใจ แต่การแผ่ให้กับมนุษย์ที่อยู่ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องล่างนั้น ที่จริงทิศเบื้องบนท่านหมายถึงบุคคลที่มีฐานะมีบุญคุณมีธรรมเหนือกว่าเรา เช่น พระ พ่อแม่ เป็นต้น ทิศเบื้องล่างก็มีนัยตรงกันข้ามกับทิศเบื้องบน คือ ผู้ที่มีฐานะตํ่ากว่าเรานั่นเอง)

๑๒. แผ่ให้สัตว์วินิบาตในทิศทั้ง ๑๐


(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ

คำแปล
ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ ดังนี้ ฯ


สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ,
อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ, 
สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ,
ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ, 
วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ,
สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน,
สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน, 
สุขิตัตตา โหนตุมา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ฯ
ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต ฯ สัพพะพะยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ ฯ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

คำแปล
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑. ด้วยการเว้นความยํ่ายี ไม่ยํ่ายีสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้วปวง ๑, ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑, จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑, จงมีตนเป็สุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑, เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เมตตา ฯ
จิตคิดถึงธรรมนั้น จึ้งชื่อว่า เจโต ฯ จิตหลุดพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้วปวง เพราะเหตุนั้น จึ้งชื่อว่า วิมุตติ ฯ จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

44 comments:

  1. อนุโมทามิ ธรรมทานนี้ สาธุ สาธุ สาธุ

    ReplyDelete
  2. สาธุ ขอให้หมดเวร หมดกรรมกับครอบครัว วงษ์สวรรค์ ดาราชัวช้าด้วยเทอญ

    ReplyDelete
  3. ขอบพระคุณมากๆค่ะ อนุโมทนาในการแบ่งปันค่ะ

    ReplyDelete
  4. ขอบพระคุณมากๆค่ะ อนุโมทนาในการแบ่งปันครั้งนี้

    ReplyDelete
  5. อนุโทนาสาธุ ค่ะ

    ReplyDelete
  6. ขออนุโมทนาสาธุ ค่ะ

    ReplyDelete
  7. ขออนุโมทนาสาธุ ค่ะ

    ReplyDelete
  8. อนุโมทนาสาธุ

    ReplyDelete
  9. อนุโมทนาสาธุ

    ReplyDelete
  10. ขอบคุณในความเผื่อแผ่แบ่งปันสาธุขอโมทนาในกุศลผลบุญในธรรมทานนี้

    ReplyDelete
  11. ขออนุโมทณาสาธุๆๆ

    ReplyDelete
  12. ขออนุโมทนาในบุญที่ให้ธรรมะให้ทางสว่างแก่ผู้สนใจใฝ่กุศลในครั้งนี้ สาธุ

    ReplyDelete
  13. ไม่ทราบว่าบทนี้เขียนผิดมั้ยครับ
    ๒. แผ่ให้ปาณชาติ ในทิศทั้ง ๑๐
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    ที่เขียนถูกต้องเป็น
    สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    ถูกมั้ยครับ
    และบท
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    ที่เขียนถูกต้องเป็น
    สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    ถูกมั้ยครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณค่ะ ตรวจสอบแก้ไขเรียบร้อยค่ะ

      Delete
  14. ขออนุโมทนาในกุศลจิต กุศลทาน ให้แก่ผู้จัดทำ ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน และทุกสรรพสิ่งที่มีชิวิตและผู้ที่ได้ละชีวิตไปแล้ว ที่ได้ให้อภัย และมีเมตตาต่อกัน .. สาธุ สาธุ สาธุ

    ReplyDelete
  15. ขออนุโมทนาในกุศลจิต กุศลทาน ให้แก่ผู้จัดทำ ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน และทุกสรรพสิ่งที่มีชิวิตและผู้ที่ได้ละชีวิตไปแล้ว ที่ได้ให้อภัย และมีเมตตาต่อกัน .. สาธุ สาธุ สาธุ

    ReplyDelete
  16. ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณและขออณุโมทนาในบุญนี้ ในความเมตตา ของท่านเจ้าของบล็อค ที่ได้เสียสละแรงกายแรงใจ เผยแพร่ บทสวดมนต์นี้ ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผลไปถึงท่าน ไม่ว่าข้าพเจ้าจะ ประสบ ความสุข ความสำเร็จ ความเจริญ จากการที่ได้ภาวนา บทสวดมนต์ บทนี้สักเท่าใด ข้าพเจ้าขอให้ท่านได้รับ ผลสำเร็จเหล่านั้น เฉกเช่นที่ข้าพเจ้าจะได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญฯ หมายเหตุ บทแผ่เมตตาที่เกี่ยวกับทิศทั้งสิบ ๒.ปาณชาติ ข้อที่ ๕.อาจเกิดข้อผิดพลาด จากคำว่า ทิสายะ น่าจะเป็น อนุทิสายะ ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณค่ะ ตรวจสอบแก้ไขเรียบร้อยค่ะ

      Delete
  17. สาธุค่ะ ขอบคุณที่บอกถึงที่มาของพระคาถามหาเมตตาใหญ่ ท่องทุกคืนค่ะ เกิดความสงบในจิตใจ ทั้งที่รอบตัวมีเรื่องมากมาย

    ReplyDelete
  18. สาธุค่ะ ขอบคุณที่บอกที่มาของคาถามหาเมตตาใหญ่ สวดทุกคืนค่ะ สวดแล้วก็สงบมีความสุขค่ะ

    ReplyDelete
  19. สงสัยบางบทในส่วนของการแผ่เมตตา ข้อ6แผ่ให้เพศหญิงในทิศทั้ง10 ในหนังสือขึ้นต้นด้วย สัพพา จนจบ แต่ที่ลองหาข้อมูลดูจากที่อื่นจะไม่ใช้สัพพา แต่เป็น สัพเพ แทน บทสวดของพระท่านก็ใช้ สัพเพ รบกวนใครทราบช่วยแนะนำผมหน่อยครับ มือใหม่หัดสวดมนต์ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. สอบถามจากท่านผู้รู้ สัพเพ สัพพา ใช้ได้เหมือนกันค่ะ ในบทแผ่เมตตาให้เพศหญิง บทสวดเลยใช้สัพพาค่ะ

      Delete
  20. การแผ่เมตตาไปใน 10 ทิศ ข้อ ๒ (๕) พิมพ์ตกหล่นคำว่า "อะนุ" หลังคำว่า "ปุรัตถิมายะ" โปรดแก้ไขด้วย

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณค่ะ ตรวจสอบแก้ไขเรียบร้อยค่ะ

      Delete
  21. ขออนุโมทนาสาธุกาลแก่ท่านผู้จัดทำด้วยนะคะ

    ReplyDelete
  22. กราบอนุโมทนาสาธุเจ้าคะ

    ReplyDelete
  23. ขออนุโมทนาสาธุให้แก่ผู้จัดทำ ขอให้ผู้จัดทำเผยแผ่มีแต่ความสุขความเจริญ สาธุ สาธุ สาธุ

    ReplyDelete
  24. อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ แก่ผู้จัดทำด้วยค่ะ

    ReplyDelete
  25. อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

    ReplyDelete
  26. อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ แก่ผู้จัดทำด้วยค่ะ

    ReplyDelete
  27. สาธุ สาธุ สาธุ ข้าพเจ้าขออนุโมทนากับบุญกุศลครั้งนี้ที่ท่านได้จัดทำบทสวดพร้อมคำแปลค่ะ ขอให้ท่านและครอบครัวประสพกับความสุข และความเจริญในทุกด้านค่ะ

    ReplyDelete
  28. ขออนุโมทนาบุญในครั้งนี้นะคะ และขอบคุณมากๆสำหรับการแบ่งปัน

    ReplyDelete
  29. สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอบคุณมากสำหรับความเป็นมา ของ บทสวดมนต์เมตตาพรหมวิหารภาวนา นี้ค่ะ

    ReplyDelete
  30. อ้อยสวดเล่มนี้อยู่ ดีมากๆ

    ReplyDelete
  31. นับว่าโชคดีมากที่ได้มาเจอบทสวดที่มีคุณค่ายิ่ง สาธุๆ

    ReplyDelete
  32. สาธุสาธุสาธุ....ขอนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด

    ReplyDelete
  33. อนุโมทนาสาธุนะคะ

    ReplyDelete
  34. อนุโมทนา สาธุค่ะ

    ReplyDelete
  35. อนุโมทนา สาธุค่ะ

    ReplyDelete