Wednesday, January 16, 2013

คาถายันทุน คาถาแก้เคล็ดฝันร้าย

คาถายันทุน 


(นะโม ๓ จบ)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ 
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ 
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ 
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ



บทสวดคาถายันทุน แท้จริงคือ คาถาอภัยปริตร 
สวดบูชาป้องกันอันตรายต่างๆ ให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง อานุภาพเพื่อแก้ลางร้าย เหตุร้าย ฝันร้ายทำลายสิ่งอัปมงคลทั้งปวงให้มลายสิ้น แม้ว่าเกิดนิมิตฝันไม่ดี เกิดอาเพศสังหรณ์ใจไปในทางที่ไม่ดีให้สวดพระคาถานี้จะกลับให้เกิดเป็นความดีขึ้น แม้จะมีเคราะห์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้น ให้ทำน้ำมนต์อาบเสียด้วย และหากมีฝันดี ลางดี ก็เพิ่มพลังให้ดียิ่งขึ้น หมั่นเจริญภาวนาไว้ เกิดสิริมงคลยิ่งนัก สามารถสวดคาถาได้ตอนเช้าหลังจากตื่นนอน และก่อนนอนด้วย ยิ่งให้คุณแก่ผู้สวดภาวนา


คาถาอภัยปริตรพร้อมคำแปล

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
(นิมิตอันเป็นลางชั่วร้ายอันใด สิ่งอวมงคลอันใด
เสียงนกที่ไม่ชอบใจอันใด สิ่งที่น่าตกใจอันใด
บาปร้าย เคราะห์ร้ายอันใด ฝันร้ายอันใด สิ่งไม่พึงปรารถนาอันใด ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
(นิมิตอันเป็นลางชั่วร้ายอันใด สิ่งอวมงคลอันใด

เสียงนกที่ไม่ชอบใจอันใด สิ่งที่น่าตกใจอันใด
บาปร้าย เคราะห์ร้ายอันใด ฝันร้ายอันใด สิ่งไม่พึงปรารถนาอันใด ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่ง พระธรรมเจ้า)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
(นิมิตอันเป็นลางชั่วร้ายอันใด สิ่งอวมงคลอันใด

เสียงนกที่ไม่ชอบใจอันใด สิ่งที่น่าตกใจอันใด
บาปร้าย เคราะห์ร้ายอันใด ฝันร้ายอันใด สิ่งไม่พึงปรารถนาอันใด ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่ง พระสังฆเจ้า )


1 comment:

  1. และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ, อันให้เกิดความละอาย,
    (ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)
    ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปฏิเสวามิ,
    เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต,
    เนวะ ทะวายะ,
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,
    นะ มะทายะ,
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย,
    นะ มัณฑะนายะ,
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,
    นะ วิภูสะนายะ,
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,
    ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
    แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
    ยาปะนายะ,
    เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
    วิหิงสุปะระติยา,
    เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,
    พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ,
    เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,
    อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
    ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือ ความหิว,
    นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
    และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,
    ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
    อนึ่ง, ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย,
    ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
    และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.
    (ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)

    ReplyDelete